Question Answering (QA)

Question Answering (QA)
previous arrow
previous arrow
next arrow
next arrow

ประกาศผลรางวัล

เชิดชูเกียติผู้ได้รับรางวัล

รวมไฟล์ Notebook ทุกทีมใน AIAT GIT


หัวข้อโจทย์การแข่งขันในปีนี้คือ Question Answering (QA) เป็นหัวข้อในสาขา Information Retrieval และ Natural Language Processing (NLP) ซึ่งมีประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ใน Chatbot ให้มีความฉลาดสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องแม่นยำ

สารบัญ

ความรู้สึกหลังจบการแข่งขันของแต่ละทีม

อยากทำ postprocessing ให้เสร็จก่อน 7 โมง
ต้องพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก
colab ระเบิดทั้ง disk และแรม TT
ผิดหวังกับตัวเองครับที่มีความรู้เรื่องAIไม่มากพอ ทำไม่ได้แม่แต่นิดเดียว
ง่วง
ง่วงนอนค่ะ เสียดายที่คะแนนใน kaggle ไม่ผ่าน baseline
รู้สึกว่าทีมเราสามารถทำได้เต็มที่แล้ว และยินดีกับผู้เข้ารอบวันนี้ด้วยครับ ถ้ามีโอกาสหน้าจะมาลองใหม่ครับ ขอบคุณครับ
นอนก่อนนะ
ตื่นเต้นที่ต้องไป pitching
สนุกดีค่ะ เป็นความรู้ใหม่
ติด sqaud2.0 run แล้ว error ทั้งทีมพยายามมากว่านี้ในครั้งถัดไปคับ
ง่วงครับ
เต็มที่ละครับ (-_-;)
รู้สึกหมดหวังว่าจะได้รางวัล555
คอมพังเลย
ง่วง
Free
ง่วงนอนแบบสุดๆ
ชอบมากครับได้ความรู้แปลกๆใหม่ๆ แต่ทีมติดงาน, freelance จึงทำไม่ทันต้องขออภัยด้วยครับ
ท้อแท้
หลับสบายมากครับ
เพิ่งได้นอนตอนตี 6 เอง
สนุก
กดส่งตอน58แล้วมันบอกว่าสายยย
ง่วงมาก

ความรู้สึกหลังได้รับ Full Test set ของแต่ละทีม

ต้องการเวลาเพิ่มครับ
ไฟลนก้นแล้วๆๆๆๆ
ทำอะไรไป งงหมดเลยครับ เหมือนยังไม่เข้าใจมันจริงๆ แต่ก็ต้องทำ
กดดันมากครับ สมองตันไปหมด คิดอะไรไม่ออกคงไม่ได้นอน
colab พังบ่อยมากกก
Disk colab เต็มค่ะเศร้ามากค่ะ ลืมเช็คชื่อ ครั้งที่แล้ว แถมครั้งนี้ลืม ตั้งเวลาว่า 5 โมงมีเล่น kahoot TT

ง่วงมั่กๆเลยในตอนนี้
รันนานมากอยากได้ colab pro มาช่วย
งงครับ…………….
รู้สึกตื่นเต้นที่จะต้องส่งงาน
กลัวทำส่งไม่ทัน
รู้สึกว่าคอมใกล้จะพังและยังมีงานค้างอีกเยอะเลย
รู้สึกว่าตัวเองกระจอกงอกง่อย
ไหวไหมมมมมมมถามใจก่อน
รู้สึกเหมือนจะทำไม่ทัน 🙁
:):):):):):):):):):):):)
ถ้า Kaggle ไม่ค้าง ได้หลายโมเดลแล้ว
มึนงงและง่วงนอนมาก
ติ่นเต้นมากครับ gpu แทบจะไม่พอแล้วว
accuracy ไม่เพิ่มเลย T_T
จะตายละครับถึงผมจะทำไม่ได้เลย อย่างน้อยก็พอเข้าใจโครงสร้างprocessแบบคราวๆ ได้ประสบการณ์ในการแข่ง ได้รู้จัก kaggle , colab มากขื้น สำหรับผมสร้าง inspiration ให้ผมอยากจะเรียนรู้เข้าใจมันให้ได้มากกว่านี้ เป็นอีกหนี่งก้าวที่สำคัญมากๆ
ถ้าชาติหน้ามีจริง ผมจะเกิดใหม่เป็นแมว
รู้สึกท้าทายตัวเอง ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เหนื่อยมากแต่สนุกมากครับ
ปวดหัว ปวดคอ ปวดหลัง
ง่วง อยากพักผ่อน ตอนนี้สมองERROR ไปหมดเลยครับ ทำไรไม่ถูกแล้วครับ จะสู้ต่อไปครับ
เครื่อง อืด มาก
ง่วง ในช่องนี้ยอกต้องลงอย่่งน้อย15คำแต่ไม่รู้จะพิมพ์ไรดี ตอนนี้น่าจะครบ15คำแล้วผมว่า
อีกนิดเดียวววววววววววว
ทำอะไรไป งงหมดเลยครับ เหมือนยังไม่เข้าใจมันจริงๆ แต่ก็ต้องทำ

สถิตที่น่าสนใจ

จำนวนทีมทั้งหมด45 ทีม
ทีมที่มีสมาชิก 1 คน20 ทีม
ทีมที่มีสมาชิก 2 คน9 ทีม
ทีมที่มีสมาชิก 3 คน16 ทีม
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน86 คน
กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า40 คน
กำลังศึกษาระดับชั้นอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) หรือเทียบเท่า23 คน
กำลังศึกษาระดับชั้นอุดมศึกษา (ปริญญาโท)3 คน
ทำงานหรือว่างงาน20 คน

ข้อมูลสมัครการแข่งขัน

สิ่งที่จะได้รับ

  • เงินรางวัลพร้อมเกียรติบัตร (ตามเกณฑ์ที่ผู้จัดกำหนด)
    • ชนะเลิศ เงินรางวัล 15,000 บาท
    • รองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล 10,000 บาท
    • รองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล 7,000 บาท
    • ชมเชย เงินรางวัล 3,000 บาท
    • รางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน จำนวน 4 รางวัล รางวัลละ 1,500 บาท
  • เกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม AI Hackathon Online ของสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (ตามเกณฑ์ที่ผู้จัดกำหนด)
  • การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่ทางสมาคมฯจัดทำ

หมายเหตุ: เงินรางวัลทุกประเภทยังไม่รวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน

  • สัญชาติไทย (คนไทยในต่างแดนสามารถสมัครได้)
  • อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • ผู้เข้าแข่งขันทีมละ 1 – 3 คน
  • ผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลาการแข่งขัน
  • ต้องไม่เป็นกรรมการ, ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

ข้อมูลวันที่และสถานที่จัดแข่งขัน

  • ระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 19:00 น. ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:00 น.
    • ระยะเวลาแข่งขัน วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 19:00 น. ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 7:00 น. (60 ชั่วโมง)
    • ระยะเวลา Pitching วันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เวลา 13:30 – 16:00 น.
  • สถานที่ ณ บ้านของท่าน (ออนไลน์ 100%) ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก (ยึดเวลาของประเทศไทย UTC+7 เป็นหลัก)

รูปแบบการแข่งขัน

  • รอบที่ 1 รันโมเดลจากโจทย์ที่กำหนด โดยส่งผลคะแนนไปยัง Kaggle ส่งได้วันละ 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 6 ครั้ง
  • รอบที่ 2 นำเสนอให้กับกรรมการในรูปแบบการ Pitching 7 นาที และตอบคำถามกรรมการ 3 นาที

เกณฑ์การตัดสิน

  • รอบที่ 1 ทีมที่มีคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก จะผ่านเข้าไปรอบที่ 2
    • คะแนนสูงสุดได้มาจากคะแนน Exact match จาก Kaggle
    • กรณีลำดับที่ 10 มีคะแนนซ้ำกัน ให้ทีมที่มีคะแนนซ้ำ เข้ารอบที่ 2
  • รอบที่ 2 คณะกรรมการจะพิจารณาในหัวข้อดังนี้
    • เทคนิคหลักที่ใช้
    • ความเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนผู้อื่น
    • จุดอ่อนของวิธีการที่ผู้พัฒนาใช้
    • การแก้ไขและการต่อยอดในอนาคต
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

เกณฑ์การได้รับรางวัลและเกียรติบัตรการเข้าร่วม

  • ทีมจะต้องทำการเช็คชื่อไม่น้อยกว่า 2 ครั้งจากทั้งหมด 4 ครั้ง และต้องมีคะแนนใน Kaggle มากกว่าหรือเท่ากับ 0.07524 คะแนน เพื่อมีสิทธิ์ในเข้ารอบที่ 2 และ/หรือได้เกียรติบัตรการเข้าร่วม
  • ทีมที่ได้รางวัลพิเศษต้องมีการเช็คชื่อไม่น้อยกว่า 2 ครั้งจากทั้งหมด 4 ครั้ง

สิ่งที่ควรมีก่อนการแข่งขัน

  • สามารถเขียนภาษาคอมพิวเตอร์ได้อย่างน้อย 1 ภาษา อาทิเช่น ภาษาไพทอน
  • มีความรู้การรันโมเดลเบื้องต้น
  • มีความเข้าใจ NLP เบื้องต้น
  • มีบัญชีผู้ใช้ Kaggle
  • มีแอปมือถือ Kahoot!
  • มีโปรแกรม Zoom
  • บัญชีผู้ใช้ AI For Thai
  • ควรศึกษาคลิปวิดีโอและ Google Colab หัวข้อ “Thai Transformers (Bert) Tutorial for Super AI Engineer” by Kobkrit Viriyayudhakorn, Ph.D.

สมัครแข่งขัน

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:00 น.

<ปิดรับสมัคร>